กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross-sectional research) เพื่อการศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 100 คน ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 79 ค่าเฉลี่ยอายุอยู่ที่ 42.62 ปี ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 4สระบุรีพบว่าส่วนใหญ่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมากร้อยละ 78.00 รองลงมาคือ ระดับดีร้อยละ 12.00 ระดับพอใช้ ร้อยละ 8.00 และระดับไม่ดีร้อยละ 2.00 เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบทั้ง 6 องค์ประกอบ พบว่า 1. ทักษะการเข้าถึงส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 94.002. ทักษะการเข้าใจ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 91.00 3. ทักษะการไต่ถามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 89.00 4. ทักษะการตัดสินใจกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 89.00 5. ทักษะการนำไปใช้อยู่ในระดับดีมากเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ78.00 6. ทักษะการบอกต่อข้อมูลสุขภาพกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 65.00และภาพรวมพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของบุคลากร ศูนย์อนามัยที่4 สระบุรี ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมากคิดเป็นร้อยละ 49.00 รองลงมาได้แก่ระดับดีคิดเป็นร้อยละ 22.00 ระดับพอใช้คิดเป็นร้อยละ16.00 และระดับไม่ดีคิดเป็นร้อยละ 13.00 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของบุคลากร ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.11 9; p value=0.024) หน่วยบริการสาธารณสุขจึงควรให้ความสำคัญกับการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและมุ่งเน้นที่บุคลากรเจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขให้มีทักษะการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อสนับสนุนให้บุคลากรสาธารณสุขเป็นต้นแบบด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพและนำไปส่งเสริมสุขภาพของผู้อื่นต่อได้
article_dl466_20241216.pdf |
ขนาดไฟล์ 1MB
ดาวน์โหลด 0 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |