คุณกำลังมองหาอะไร?

ด็กพิเศษติดเกมมากสุด รองลงมาซึมเศร้า

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

18.07.2556
0
0
แชร์
18
กรกฎาคม
2556

เด็กพิเศษติดเกมมากสุด รองลงมาซึมเศร้า

          องค์กรออทิสติก และสำนักการศึกษา กทม. พบเด็กพิเศษติดเกมมากสุด รองลงมาจิตกังวล ซึมเศร้า เกเร แนะกทม. เพิ่มศักยภาพการดูแล
           เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการฯ กทม. ประชุมร่วมกับองค์กรออทิสติก และสำนักการศึกษา กทม. เพื่อ พัฒนาด้านการศึกษาแก่เด็กออทิสติก ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยในที่ประชุมได้มีการนำเสนอปัญหาที่ทำให้เด็กไม่พัฒนาซึ่งแยกตามลำดับได้ เป็น 1. ติดเกม ประมาณ 45,198 ราย 2. จิตกังวล ประมาณ 33,898 ราย 3. ซึมเศร้า ประมาณ 22,285 ราย 4. เด็กพิเศษเฉพาะด้าน ประมาณ 18,000 ราย 5. และเด็กพฤติกรรมเกเร 17,263 ราย
           นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์เด็กพิเศษในพื้นที่กรุงเทพฯโดยพบว่า จากจำนวนเด็กนักเรียนพิการที่เรียนร่วม ในสังกัด กทม. ของปีการศึกษา 56 ที่มีประมาณ 2,200 ราย พบว่าร้อยละ 20-30 หรือประมาณ 400 ราย เป็นเด็กพิเศษหรืออทิสติก ซึ่งสาเหตุของปัญหาที่ทำให้เด็กพิเศษไม่ได้รับการพัฒนา เกิดจาก 1. การขาดประสบการณ์ ขาดบุคลากร ขาดกระบวนการเรียนรู้ ขาดการวิจัยเชิงระบบ และขาดการเชื่อมต่อกระบวนการการให้บริการทางการแพทย์ และที่สำคัญทัศนคติของผู้บริหารโรงเรียน ที่ไม่เปิดโอกาสการเรียนรู้เด็กพิเศษอย่างจริงจัง ซึ่งผู้ปกครองเด็กพิเศษได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาการศึกษาที่เกิดขึ้นกับบุตร หลานที่เป็นเด็กพิเศษ เช่น การไม่ยอมรับความแตกต่างของเด็กพิเศษกับเด็กอื่นๆ ในโรงเรียน ทำให้เด็กขาดโอกาสทางการศึกษาในระดับเดียวกับเด็กปกติ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กพิเศษได้ดีและการลดโอกาสการเข้าถึง การศึกษาและการกีดกันเด็กพิเศษออกจากเด็กนักเรียนคนอื่นๆ ทั้งนี้ กทม. ควรมีการปรับแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อเปิดพื้นที่ให้เด็กพิเศษ ทำให้ กทม. แตกต่างกับโรงเรียนในสังกัดอื่นๆ
          โดยตัวแทนจากศิริราชพยาบาลได้เสนอแผนให้ กทม.มีการปรับปรุงการศึกษาเพื่อเด็กพิเศษ ออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ให้มีการปรับทัศนคติที่มีต่อเด็กพิเศษ ปรับวิธีการประเมินโรงเรียน/ครู ที่มีการสอนเด็กพิเศษ พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาศักยภาพครูและพัฒนาเครื่องมือที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นต้น ระยะกลาง พัฒนาเครือข่ายส่งเสริมการเรียนรู้ เพิ่มบุคลากรครูที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน เป็นต้น และระยะยาว ควรมีการฝึกอบรมและผลิตบุคลากร โดยการสร้างคณะศึกษาศาสตร์หรือจิตวิทยา เป็นของ กทม. เอง ขยายผลโรงเรียนต้นแบบบนพื้นฐานงานวิจัย และสนับสนุนเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของเครือข่ายและภาคี ที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง กทม. จะนำแนวทางดังกล่าวไปพิจารณาเพื่อเพิ่มศักยภาพการดูแลและให้การศึกษาแก่เด็ก พิเศษกับโรงเรียนในสังกัด กทม.


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน