คุณกำลังมองหาอะไร?

ะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.09.2556
0
0
แชร์
24
กันยายน
2556

มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้


          สมาคมโรคร้ายมะเร็งนรีเวชไทย ร่วมกันจัดกิจกรรมพร้อมกันทั่วโลก ในวันที่ 29 ก.ย. รณรงค์ต่อต้านมะเร็งปากมดลูก โรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยเป็นอันดับต้นๆ
          ในแต่ละปีมีผู้หญิงไทยเสียชีวืตจากมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยประมาณวันละ 14 คน เพื่อให้สตรีได้ตั้งหลักรู้ให้ทันโรคร้ายสมาคมโรคร้ายมะเร็งนรีเวชไทย ร่วมกับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย, สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทยฯ จึงจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านโรคมะเร็งในสตรีขึ้น ภายใต้โครงการ Globe-athon "เดินร่วมใจต้านภัยมะร็งสตรี? ซึ่งเป็นการร่วมมือกันเป็นครั้งแรกระหว่างนานาชาติกว่า 80 ประเทศ ร่วมกันจัดกิจกรรมพร้อมกันทั่วโลก ในวันที่ 29 ก.ย. สำหรับประเทศไทยจะจัดขึ้นที่บริเวณสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) เวลา 06.30-10.30 น.
          เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้ นพ.วิสิทธิ์ สุภัครพงษ์สกุล นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย ได้ อธิบายว่า มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งในสตรีที่พบเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ในแต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 5 แสนราย และมีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคนี้ปีละถึง 275,000 ราย ปัจจุบันมีหลักฐานยืนยันว่า สาเหตุสำคัญขงมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อ humen papillomavirus หรือที่เรียกว่า เชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ซึ่งมีหลายสายพันธ์ แต่สายพันธ์ที่สำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งองคชาต คือสายพันธ์ 16 กับ 18 ส่วนสายพันธ์ 11 เป็นสาเหตุกว่า 90 % ของหูดหงอนไก่
          รศ.นพ.วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ หัวหน้าหน่วยมะเร็งนรีเวชวิทยา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเพิ่มเติมว่า มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่รักษาให้หายขาดได้สูง หากเป็นระยะแรกๆ อย่าหลงผิดไปรักษาผิดทาง เช่น การไปรักษาด้วยสมุนไพร หรือกลัวการรักษาจนเกิดเหตุ ทำให้โรคเป็นมากขึ้น จนโอกาสหายจากโรคน้อยลง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง อีกอย่างหนึ่งที่อยากจะย้ำเตือนคือ มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่มาสามรคป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย การตรวจคัดกรองเป็นระยะๆ และปัจจุบัน มะเร็งปากมดลูก รวมทั้งมะเร็งอื่นๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้
          แนะนำให้ฉีดให้กับเด็กก่อนที่จะมี เพศสัมพันธ์ครั้งแรก หรือฉีดตั้งแต่อายุประมาณ 11-12 ปี วัคซีนจะมีทั้งหมด 3 เข็ม คาดการณ์ว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีได้อย่างน้อย 30 ปี โดยไม่ต้องฉีดกระตุ้น




ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน