คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ ๒ สระบุรี ส่งเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือประชาชนผู้ประสพอุทกภัยในเขตจังหวัดปราจีนบุรีระหว่างวันที่ ๑๗ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๖

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

22.10.2556
38
0
แชร์
22
ตุลาคม
2556

ศูนย์อนามัยที่ ๒ สระบุรี ส่งเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือประชาชนผู้ประสพอุทกภัยในเขตจังหวัดปราจีนบุรีระหว่างวันที่ ๑๗ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๖

รายงานสถานการณ์อุทกภัย ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี
          เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยในเขตศูนย์อนามัยที่ ๒ สระบุรี ได้คลี่คลายจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ศูนย์อนามัยที่ ๒ สระบุรี จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือประชาชนผู้ประสพอุทกภัยในเขตจังหวัดปราจีนบุรีระหว่างวันที่ ๑๗ ? ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๖ มีรายชื่อดังนี้
                    ๑. นายวิชาญ ดำรงกิจ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
                    ๒. นายธีรภัทร์ ฉ่ำแสง ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
                    ๓. นายมนตรี อาจสมิติ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ 
                    ๔. นายอรรถวุฒิ ทัพโพธิ์ ตำแหน่ง นิติกร
   
          เจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่ ๒สระบุรี ได้ประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี และได้ร่วมประชุมวางแผนในการให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ทำให้ทราบรายละเอียดข้อมูลของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยและความเดือดร้อนของประชาชน ที่ประชุมจึงมีความเห็นให้เจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่ ๒ สระบุรี เข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อำเภอประจันตคามและอำเภอกบินทร์บุรี ซึ่งมีการดำเนินการในพื้นที่ดังนี้
 
          ๑. อำเภอประจันตคาม
          เจ้าหน้าที่ได้สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการเกิด อุทกภัยในพื้นที่เทศบาลตำบลประจันตคามจากนายอิทธิพล อุปชีวะ ปลัดเทศบาลตำบลประจันตคาม ได้ข้อมูลว่า มีประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยจำนวน ๔,๐๐๐ คน บ้านเรือนได้รับผลกระทบจำนวน ๑,๒๐๐ หลังคาเรือน ทางเทศบาลได้จัดสถานที่เป็นจุดอพยพจำนวน ๓ จุด คือ
                   ๑.๑ จุดอพยพวัดแจ้งเมืองเก่า
                   ๑.๒ จุดอพยพสำนักงานเทศบาลตำบลประจันตคาม
                   ๑.๓ จุดอพยพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
          จากการสอบถามทราบว่าประชาชนในจุดอพยพมีจำนวนไม่มาก เพราะประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบ้านของตนเองเนื่องจากกลัวทรัพย์สินจะสูญหายจึงไม่ออกมาอาศัยในจุดอพยพที่ทางเทศบาลได้จัดเตรียมไว้ และได้ข้อมูลเกี่ยวกับการสุขาภิบาลและนามัยสิ่งแวดล้อมดังนี้
          - อาหาร ประชาชนส่วนหนึ่งจะเดินทางมารับที่จุดบริการของเทศบาลซึ่งได้ให้บริการอาหารกล่องทั้ง ๓ มื้อ และอีกส่วนหนึ่งก็จะมีจุดบริการประกอบอาหารของเอกชนซึ่งเป็นการประกอบอาหารแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่
          - น้ำอุปโภคและบริโภค ประชาชนในพื้นที่ใช้น้ำประปาภูมิภาคในการอุปโภค ซึ่งระบบประปาไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย สามารถจ่ายน้ำให้ประชาชนได้ตามปกติ การบริโภคน้ำของประชาชนในพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นการซื้อน้ำขวดบริโภค
          - ขยะ ประชาชนได้รับแจกถุงดำจากทางเทศบาลเพื่อเก็บขยะภายในครัวเรือนของตนเอง และทางเทศบาลได้ดำเนินการจัดเก็บขยะทุกวัน แต่รถขยะไม่สามารถนำขยะไปทิ้งในพื้นที่อำเภอเมืองปราจีนบุรีได้ตามปกติ เทศบาลตำบลประจันตคามจึงได้นำขยะในพื้นที่ไปทิ้งในพื้นที่จัดเก็บขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลประจันตคาม ซึ่งในขณะสำรวจยังไม่พบว่าจำนวนขยะมากเกินกว่าปริมาณพื้นที่จัดเก็บ
          - ส้วม ประชาชนได้รับแจกถุงดำจากทางเทศบาลเพื่อใช้แทนส้วมในบ้านที่ไม่สามารถใช้งานได้
 
          กิจกรรมที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการในพื้นที่มีดังนี้
          ๑. ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารในจุดประกอบอาหารเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนจำนวน ๓ จุด ได้แก่ สถานที่ประกอบอาหารของมูลนิธิร่วมกตัญญู สถานที่เตรียมแจกจ่ายอาหารกล่องของเทศบาลตำบลประจันตคาม และสถานที่ประกอบอาหารวัดแจ้งเมืองเก่า โดยใช้ชุดตรวจภาคสนาม
          ๒. ทำการเก็บตัวอย่างน้ำประปาเพื่อตรวจคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ
          ๓. ให้ความรู้เกี่ยวกับการสุขาภิบาลของประชาชนในภาวะประสพอุทกภัย
          ๔. แจกถุงดำ หยดทิพย์ ชุดคุณสะอาด และอธิบายการใช้งาน
 
          ๒. อำเภอกบินทร์บุรี
          เจ้าหน้าที่ได้สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการเกิด อุทกภัยในพื้นที่เทศบาลเมืองกบินทร์บุรีจากนายภานุวัฒน์ สร้อยโท ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ข้อมูลว่า สถานการณ์ได้เข้าสู่ภาวะปกติ ระบบประปาภูมิภาคสามารถจ่ายน้ำได้ ประชาชนได้ทำความสะอาดบ้านเรือน เทศบาลได้นำรถดับเพลิงไปฉีดทำความสะอาดตามถนนและเร่งเก็บกวาดขยะในพื้นที่เทศบาล
          กิจกรรมที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการในพื้นที่มีดังนี้
          ๑. ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารในตลาดบริบูรณ์ โดยใช้ชุดตรวจภาคสนาม
          ๒. ทำการเก็บตัวอย่างน้ำประปาเพื่อตรวจคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ
          ๓. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการฟื้นฟูด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมหลังน้ำลด
          ๔. มอบสิ่งของสนับสนุนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้กับเทศบาลเมืองกบินทร์บุรี

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน