คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอนามัยเจริญพันธุ์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

21.01.2558
2
0
แชร์
21
มกราคม
2558

ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอนามัยเจริญพันธุ์

          จากสถานการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในประเทศไทยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น รัฐบาลได้ประกาศวาระแห่งชาติและดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อมตั้งแต่ปี 2553 โดยภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้บูรณาการแผนปฏิบัติการ ร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง และมีกลไกการขับเคลื่อนทั้งในระดับชาติ จังหวัดและชุมชน
          การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาหลายประการทั้งปัญหาต่อ ตัววัยรุ่นและปัญหาสังคมโดยรวม อาทิ ปัญหาการเรียน ปัญหาการออกโรงเรียนกลางคัน ปัญหาการทำแท้งเถื่อนที่ไม่ปลอดภัย ปัญหาการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาการทอดทิ้งบุตร ปัญหาเด็กคลอดก่อนกำหนดหรือพิการ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นต้น
          การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นและปัญหาการตั้งท้องในวัยที่ไม่พร้อมเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกลุ่มเด็กนักเรียนในประเทศไทย โดยมีรายงานว่าการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกทั้งของ เพศหญิงและเพศชายเริ่มเมื่ออายุเฉลี่ยประมาณ 13 ปี ซึ่งผลกระทบที่ตามมาได้แก่ การเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์และการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
          ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี นำโดยนายแพทย์อมร  แก้วใส ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี และ นายเทวินทร์  วารีศรี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอนามัยเจริญพันธุ์ ในวันที่ 20 มกราคม 2558 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการสอนทักษะชีวิต และการสอนเพศศึกษา กับภาคีเครือข่าย ที่ทำงานกับวัยรุ่น เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และภาคีเครือข่ายที่ทำงานวัยรุ่นมีองค์ความรู้ในการสนับสนุนการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการสอนทักษะชีวิตในวัยรุ่นอย่างมีคุณภาพตามนโยบายกรมอนามัย เพื่อขับเคลื่อนให้สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ดำเนินกิจกรรม โรงพยาบาลที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น และอำเภออนามัยเจริญพันธุ์ ตามมาตรฐาน
จากสถานการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในประเทศไทยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น รัฐบาลได้ประกาศวาระแห่งชาติและดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อมตั้งแต่ปี 2553 โดยภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้บูรณาการแผนปฏิบัติการ ร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง และมีกลไกการขับเคลื่อนทั้งในระดับชาติ จังหวัดและชุมชน การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาหลายประการทั้งปัญหาต่อ ตัววัยรุ่นและปัญหาสังคมโดยรวม อาทิ ปัญหาการเรียน ปัญหาการออกโรงเรียนกลางคัน ปัญหาการทำแท้งเถื่อนที่ไม่ปลอดภัย ปัญหาการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาการทอดทิ้งบุตร ปัญหาเด็กคลอดก่อนกำหนดหรือพิการ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นต้น การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นและปัญหาการตั้งท้องในวัยที่ไม่พร้อมเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกลุ่มเด็กนักเรียนในประเทศไทย โดยมีรายงานว่าการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกทั้งของ เพศหญิงและเพศชายเริ่มเมื่ออายุเฉลี่ยประมาณ 13 ปี ซึ่งผลกระทบที่ตามมาได้แก่ การเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์และการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี นำโดยนายแพทย์อมร แก้วใส ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี และ นายเทวินทร์ วารีศรี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอนามัยเจริญพันธุ์ ในวันที่ 20 มกราคม 2558 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการสอนทักษะชีวิต และการสอนเพศศึกษา กับภาคีเครือข่าย ที่ทำงานกับวัยรุ่น เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และภาคีเครือข่ายที่ทำงานวัยรุ่นมีองค์ความรู้ในการสนับสนุนการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการสอนทักษะชีวิตในวัยรุ่นอย่างมีคุณภาพตามนโยบายกรมอนามัย เพื่อขับเคลื่อนให้สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ดำเนินกิจกรรม โรงพยาบาลที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น และอำเภออนามัยเจริญพันธุ์ ตามมาตรฐาน

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน