คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี จัดประชุมพัฒนางานเอดส์ในแม่และเด็ก ในโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายงานแม่และเด็ก

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

19.02.2558
0
0
แชร์
19
กุมภาพันธ์
2558

ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี จัดประชุมพัฒนางานเอดส์ในแม่และเด็ก ในโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายงานแม่และเด็ก

          เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี นำทีมโดยนางทรรศนีย์ ธรรมาธนวัฒน์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ จัดประชุมพัฒนางานเอดส์ในแม่และเด็ก ในโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายงานแม่และเด็ก และได้รับเกียรติจากนายแพทย์อมร แก้วใส ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี เป็นประธานในพิธีเปิด
          การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเนื่องจากการพัฒนางานเอดส์ในแม่และเด็ก จำเป็นต้องมีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง เพราะการติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์ เป็น สถานการณ์ที่ถือว่าเป็นภาวะเสี่ยงในระยะตั้งครรภ์ ต่อ เนื่องไปถึงระยะคลอดและหลังคลอด ที่เรียกว่า High-risk หรือ ภาวะเสี่ยงสูง ผลกระทบที่ถือว่าเป็นความเสี่ยง ที่สำคัญ คือ 1) ความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพของ สตรีตั้งครรภ์ และ 2) ความเสี่ยงต่อสุขภาพของทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับเชื้อจากมารดาทั้งในช่วงที่ ตั้งครรภ์ ระหว่างเจ็บครรภ์และคลอด และจากการให้นม มารดา การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์ อาจตรวจพบ การติดเชื้อก่อนและภายหลังการตั้งครรภ์ สตรีตั้งครรภ์ ทั้งสองกลุ่มจะตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันคือการเป็น สตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงจากการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งผลกระทบอาจจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับภาวะ สุขภาพโดยรวม ตลอดจนพฤติกรรมการดูแลตนเองของ สตรีตั้งครรภ์ทั้งในระยะก่อนการตั้งครรภ์และระหว่าง ตั้งครรภ์
 
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี นำทีมโดยนางทรรศนีย์ ธรรมาธนวัฒน์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ จัดประชุมพัฒนางานเอดส์ในแม่และเด็ก ในโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายงานแม่และเด็ก และได้รับเกียรติจากนายแพทย์อมร แก้วใส ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี เป็นประธานในพิธีเปิด การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเนื่องจากการพัฒนางานเอดส์ในแม่และเด็ก จำเป็นต้องมีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง เพราะการติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์ เป็น สถานการณ์ที่ถือว่าเป็นภาวะเสี่ยงในระยะตั้งครรภ์ ต่อ เนื่องไปถึงระยะคลอดและหลังคลอด ที่เรียกว่า High-risk หรือ ภาวะเสี่ยงสูง ผลกระทบที่ถือว่าเป็นความเสี่ยง ที่สำคัญ คือ 1) ความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพของ สตรีตั้งครรภ์ และ 2) ความเสี่ยงต่อสุขภาพของทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับเชื้อจากมารดาทั้งในช่วงที่ ตั้งครรภ์ ระหว่างเจ็บครรภ์และคลอด และจากการให้นม มารดา การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์ อาจตรวจพบ การติดเชื้อก่อนและภายหลังการตั้งครรภ์ สตรีตั้งครรภ์ ทั้งสองกลุ่มจะตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันคือการเป็น สตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงจากการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งผลกระทบอาจจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับภาวะ สุขภาพโดยรวม ตลอดจนพฤติกรรมการดูแลตนเองของ สตรีตั้งครรภ์ทั้งในระยะก่อนการตั้งครรภ์และระหว่าง ตั้งครรภ์

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน