คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย สัมมนาวิชาการสร้างมูลค่าสู่การพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียน 4.0 ในพื้นที่ภาคกลาง เพื่อให้เด็กวัยเรียนและครอบครัวมีความรอบรู้ ด้านสุขภาพ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

29.01.2561
12
0
แชร์
29
มกราคม
2561

ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย สัมมนาวิชาการสร้างมูลค่าสู่การพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียน 4.0 ในพื้นที่ภาคกลาง เพื่อให้เด็กวัยเรียนและครอบครัวมีความรอบรู้ ด้านสุขภาพ

วันที่ 29-30  มกราคม 2561 ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย สัมมนาวิชาการสร้างมูลค่าสู่การพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียน 4.0 ในพื้นที่ภาคกลาง เพื่อให้เด็กวัยเรียนและครอบครัวมีความรอบรู้ ด้านสุขภาพ โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานในพิธีเปิด และนายอวัตถ์ เชาวน์ลิลิตกุล ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี เป็นผู้กล่าวรายงาน

วันนี้ (29 มกราคม 2561) นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการสร้างมูลค่าสู่การพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียน 4.0 : นวัตกรรมผลงานเด่นและแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ภาคกลาง ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี ว่า สถานการณ์สุขภาพเด็กวัยเรียน       ภาคกลาง เขตสุขภาพที่ 4 สระบุรี, เขตสุขภาพที่ 5 ราชบุรี และเขตสุขภาพที่ 6 ชลบุรี ปี 2560 พบว่า นักเรียน       มีภาวะโภชนาการสูงดี สมส่วน ร้อยละ 64.5 ซึ่งต่ำกว่าค่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 1.5 ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วนเฉลี่ย ร้อยละ 13.3 ภาวะเตี้ย และผอม ร้อยละ 4.2 และร้อยละ 4.6 ด้านส่วนสูงของนักเรียนอายุ 12 ปี เพศชายมีส่วนสูง 149.7 เซนติเมตร และนักเรียนหญิง มีส่วนสูง 150.6 เซนติเมตร กรมอนามัย โดยศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี          ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี และเครือข่าย ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย ร่วมคิดค้นกระบวนการ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาเด็กวัยเรียน และส่งเสริมให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับครอบครัว ผู้ปกครอง และท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการ Family coacher เพื่อส่งผลต่อเด็กวัยเรียนภาคกลางสูงดี สมส่วนฉลาด และแข็งแรง พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา สาธารณสุข และท้องถิ่นในภาคกลาง ร่วมสร้างกระบวนการจัดการ และพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดผลงานและนวัตกรรมใหม่ๆ พร้อมนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในระดับพื้นที่ที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน  และสามารถเป็นแกนนำหรือศูนย์กลางการพัฒนาการศึกษาควบคู่ไปกับการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงครอบครัวเด็ก ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมที่สำคัญ

            นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์  กล่าวต่อไปว่า การเตรียมตัวเด็กให้มีความพร้อมกับสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค 4.0 เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนยุคนี้ต้องเตรียมรับมือให้ทัน โดยเป้าหมายที่สำคัญยิ่ง คือ การพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญาและจิตใจที่สมบูรณ์และแข็งแรงมีทักษะสามารถดูแลสุขภาพตนเองและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม มีความพร้อมในการเรียนรู้และส่งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ซึ่งผลการสำรวจของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2557 พบว่า ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย ในกลุ่มอายุ 7 ? 18 ปี อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 86.48 และระดับดีมาก ร้อยละ 5.25 หรือระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย เรื่อง 3 อ 2 ส ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ในกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป อยู่ในระดับไม่ดีพอ ร้อยละ 59.4 พอใช้ ร้อยละ 39.0 และระดับดีมากเพียง ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ประเทศสิงคโปร์ มีสัดส่วนประชากรที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับดีถึงร้อยละ 76 หรือในแถบยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์ มีสัดส่วนประชากรที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับดีถึงร้อยละ 70 ดังนั้น จึงต้องเร่งการพัฒนาองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพและยกระดับ ความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทยทุกกลุ่มวัย ให้มีสุขภาพที่ดีสมวัยในทุกช่วงชีวิต

            ทั้งนี้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) จะเป็นตัวช่วยให้ประชาชนไทยรู้เท่าทันสถานการณ์ ข้อมูลข่าวสาร และสุขภาพของตนเอง ด้วยการกลั่นกรอง ประเมิน และตัดสินใจ   ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกใช้บริการและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างเหมาะสม โดยอาศัยความรู้ ข้อมูลสุขภาพ และบริการสุขภาพจากหลายช่องทางจนสามารถจัดการสุขภาพด้วยตนเองได้ (Self-Management)? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด

วันที่29-30 มกราคม2561 ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทยสัมมนาวิชาการสร้างมูลค่าสู่การพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียน 4.0 ในพื้นที่ภาคกลาง เพื่อให้เด็กวัยเรียนและครอบครัวมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัยเป็นประธานในพิธีเปิด และนายอวัตถ์ เชาวน์ลิลิตกุล ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 4สระบุรี เป็นผู้กล่าวรายงานวันนี้(29 มกราคม 2561) นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัยเปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการสร้างมูลค่าสู่การพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียน4.0 : นวัตกรรมผลงานเด่นและแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ภาคกลาง ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานีว่า สถานการณ์สุขภาพเด็กวัยเรียน ภาคกลาง เขตสุขภาพที่ 4 สระบุรี,เขตสุขภาพที่ 5ราชบุรี และเขตสุขภาพที่ 6 ชลบุรี ปี 2560 พบว่า นักเรียน มีภาวะโภชนาการสูงดี สมส่วน ร้อยละ 64.5ซึ่งต่ำกว่าค่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 1.5 ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วนเฉลี่ย ร้อยละ 13.3ภาวะเตี้ย และผอม ร้อยละ 4.2 และร้อยละ 4.6 ด้านส่วนสูงของนักเรียนอายุ 12 ปีเพศชายมีส่วนสูง 149.7 เซนติเมตร และนักเรียนหญิง มีส่วนสูง 150.6 เซนติเมตรกรมอนามัย โดยศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี และเครือข่าย ได้แก่กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย ร่วมคิดค้นกระบวนการ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาเด็กวัยเรียน และส่งเสริมให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับครอบครัวผู้ปกครอง และท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการ Familycoacher เพื่อส่งผลต่อเด็กวัยเรียนภาคกลางสูงดีสมส่วนฉลาด และแข็งแรง พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา สาธารณสุขและท้องถิ่นในภาคกลาง ร่วมสร้างกระบวนการจัดการ และพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดผลงานและนวัตกรรมใหม่ๆพร้อมนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในระดับพื้นที่ที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน และสามารถเป็นแกนนำหรือศูนย์กลางการพัฒนาการศึกษาควบคู่ไปกับการสร้างสุขภาพภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงครอบครัวเด็ก ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมที่สำคัญ นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ กล่าวต่อไปว่าการเตรียมตัวเด็กให้มีความพร้อมกับสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค 4.0เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนยุคนี้ต้องเตรียมรับมือให้ทัน โดยเป้าหมายที่สำคัญยิ่ง คือการพัฒนาการทางด้านร่างกายสติปัญญาและจิตใจที่สมบูรณ์และแข็งแรงมีทักษะสามารถดูแลสุขภาพตนเองและมีพฤติกรรมที่เหมาะสมมีความพร้อมในการเรียนรู้และส่งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาซึ่งผลการสำรวจของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2557พบว่า ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย ในกลุ่มอายุ 7 18 ปี อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 86.48 และระดับดีมากร้อยละ 5.25 หรือระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย เรื่อง 3 อ 2 ส ได้แก่ อาหารออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ในกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปอยู่ในระดับไม่ดีพอ ร้อยละ 59.4 พอใช้ ร้อยละ 39.0 และระดับดีมากเพียง ร้อยละ 1.6เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ประเทศสิงคโปร์ มีสัดส่วนประชากรที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับดีถึงร้อยละ76 หรือในแถบยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์มีสัดส่วนประชากรที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับดีถึงร้อยละ 70 ดังนั้นจึงต้องเร่งการพัฒนาองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพและยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทยทุกกลุ่มวัย ให้มีสุขภาพที่ดีสมวัยในทุกช่วงชีวิต \\ทั้งนี้ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (HealthLiteracy) จะเป็นตัวช่วยให้ประชาชนไทยรู้เท่าทันสถานการณ์ข้อมูลข่าวสาร และสุขภาพของตนเอง ด้วยการกลั่นกรอง ประเมิน และตัดสินใจ ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลือกใช้บริการและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างเหมาะสม โดยอาศัยความรู้ ข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพจากหลายช่องทางจนสามารถจัดการสุขภาพด้วยตนเองได้ (Self-Management) รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน