คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ร่วมกับ มูลนิธิถันยรักษ์ จัดการประชุมเยี่ยมเสริมพลัง โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

19.04.2561
15
0
แชร์
19
เมษายน
2561

ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ร่วมกับ มูลนิธิถันยรักษ์ จัดการประชุมเยี่ยมเสริมพลัง โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม

          วันที่ 18 เมษายน 2561 ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ร่วมกับ มูลนิธิถันยรักษ์ จัดการประชุมเยี่ยมเสริมพลัง โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม ณ โรงแรมเซอร์เจมส์รีสอร์ท จังหวัดสระบุรี โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธาน และ นายแพทย์นพพร พงศ์ปลื้มติชัย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระบุรี กล่าวรายงานในพิธีเปิด
          โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม เป็นโครงการที่มูลนิธิถันยรักษ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการใน 21 จังหวัดนำร่องทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหารูปแบบของการต่อสู้กับโรคมะเร็งเต้านม อย่างมีประสิทธิภาพโดยศึกษาความสัมพันธ์พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง กับขนาดมะเร็ง เต้านม ระยะของโรค และอัตราการรอดชีพ ในกลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มอายุที่เสี่ยงต่อการ เป็นโรคมะเร็งเต้านม จำนวน 1.9 ล้านคน โดยมีกิจกรรมสำคัญ ตั้งแต่
1) การบริหารจัดการข้อมูล โดยการขึ้นทะเบียนสตรีที่จะทำการศึกษาข้อมูลการตรวจเต้านมตนเอง และข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
2) การใช้สมุดบันทึกการตรวจเต้านมตนเองเพื่อสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองของสตรี
3) การพัฒนา ความรู้ของบุคลากรสาธารณสุขในทุกระดับ
4) การพัฒนาระบบการดูแลส่งต่อที่เชื่อมโยงกับการ จัดการโรค(Case Management) ภายใต้ระบบบริการสุขภาพของงานสาธารณสุข รวมไปถึงการสร้าง ศักยภาพให้โรงพยาบาลชุมชนสามารถใช้เครื่อง Portable Ultrasound ในการช่วยวินิจฉัยว่า เป็นก้อนชนิดใด ซึ่งเป็นการช่วยการคัดกรองโดยบุคลากรทางการแพทย์ ลดปัญหาภาระงานของ สถานบริการสุขภาพระดับตติยภูมิ
5) การจัดการประชุมใหญ่เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอผลงานความก้าวหน้าให้กับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิถันยรักษ์ฯ และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข
          โครงการนี้เป็น โครงการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ ต.ค. 2555 - ก.ย. 2564 สำหรับปีนี้เป็น ปีที่ 6 ของการดำเนินงานโครงการ ได้มีการติดตามผลงาน ความก้าวหน้า และความสำเร็จ พบว่าสตรี กลุ่มเป้าหมาย มีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอโดยตรวจสอบจากการใช้ สมุดบันทึกการตรวจเต้านมตนเอง ร้อยละ 70 ทำให้ค้นพบมะเร็งเต้านมขนาดเล็ก และมีอัตราการ รอดชีพสูงกว่ากลุ่มที่ตรวจเต้านมตนเองไม่สม่ำเสมอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งจะนำไปสู่ การลดปัญหาการป่วยในระยะรุนแรง และการสูญเสียชีวิตของสตรีจากโรคมะเร็งเต้านม
วันที่ 18 เมษายน 2561 ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ร่วมกับ มูลนิธิถันยรักษ์ จัดการประชุมเยี่ยมเสริมพลัง โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม ณ โรงแรมเซอร์เจมส์รีสอร์ท จังหวัดสระบุรี โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธาน และ นายแพทย์นพพร พงศ์ปลื้มติชัย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระบุรี กล่าวรายงานในพิธีเปิด โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม เป็นโครงการที่มูลนิธิถันยรักษ์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการใน 21 จังหวัดนำร่องทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหารูปแบบของการต่อสู้กับโรคมะเร็งเต้านม อย่างมีประสิทธิภาพโดยศึกษาความสัมพันธ์พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง กับขนาดมะเร็ง เต้านม ระยะของโรค และอัตราการรอดชีพ ในกลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มอายุที่เสี่ยงต่อการ เป็นโรคมะเร็งเต้านม จำนวน 1.9 ล้านคน โดยมีกิจกรรมสำคัญ ตั้งแต่ 1) การบริหารจัดการข้อมูล โดยการขึ้นทะเบียนสตรีที่จะทำการศึกษาข้อมูลการตรวจเต้านมตนเอง และข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 2) การใช้สมุดบันทึกการตรวจเต้านมตนเองเพื่อสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองของสตรี 3) การพัฒนา ความรู้ของบุคลากรสาธารณสุขในทุกระดับ 4) การพัฒนาระบบการดูแลส่งต่อที่เชื่อมโยงกับการ จัดการโรค(Case Management) ภายใต้ระบบบริการสุขภาพของงานสาธารณสุข รวมไปถึงการสร้าง ศักยภาพให้โรงพยาบาลชุมชนสามารถใช้เครื่อง Portable Ultrasound ในการช่วยวินิจฉัยว่า เป็นก้อนชนิดใด ซึ่งเป็นการช่วยการคัดกรองโดยบุคลากรทางการแพทย์ ลดปัญหาภาระงานของ สถานบริการสุขภาพระดับตติยภูมิ 5) การจัดการประชุมใหญ่เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอผลงานความก้าวหน้าให้กับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิถันยรักษ์ฯ และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข โครงการนี้เป็น โครงการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ ต.ค. 2555 - ก.ย. 2564 สำหรับปีนี้เป็น ปีที่ 6 ของการดำเนินงานโครงการ ได้มีการติดตามผลงาน ความก้าวหน้า และความสำเร็จ พบว่าสตรี กลุ่มเป้าหมาย มีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอโดยตรวจสอบจากการใช้ สมุดบันทึกการตรวจเต้านมตนเอง ร้อยละ 70 ทำให้ค้นพบมะเร็งเต้านมขนาดเล็ก และมีอัตราการ รอดชีพสูงกว่ากลุ่มที่ตรวจเต้านมตนเองไม่สม่ำเสมอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งจะนำไปสู่ การลดปัญหาการป่วยในระยะรุนแรง และการสูญเสียชีวิตของสตรีจากโรคมะเร็งเต้านม

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน