คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี กลุ่มงานวัยผู้สูงอายุ ออกประเมินภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดนนทบุรี

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.06.2561
60
0
แชร์
06
มิถุนายน
2561

ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี กลุ่มงานวัยผู้สูงอายุ ออกประเมินภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดนนทบุรี

          วันที่ 4-5 มิถุนายน 2561 ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี กลุ่มงานวัยผู้สูงอายุ ออกประเมินภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดนนทบุรี เนื่องจากใน ปี 2560 มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 734,407 คน ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 27,548 คน (ข้อมูล จากเขตสุขภาพที่ 4 มีนาคม 2560 ) ในพื้นที่รับผิดชอบ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี และนนทบุรี และนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2559 เน้นการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ประชาชนทุกกลุ่มวัยต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยในวัยสูงอายุเน้นให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองปัญหาสุขภาพ รวมทั้งหน่วยบริการระดับตำบล โดยแผนพัฒนา ระบบสุขภาพแห่งชาติในอีก 20 ปี ข้างหน้าคนไทยมีอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีของผู้สูงอายุไทย ไม่น้อยกว่า 75 ปี และชุมชนมีศักยภาพในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชากร ทุกกลุ่มวัย ในปี พ.ศ. 2553 องค์การ Alzheimer\'s Disease International (ADI) ได้ประเมินว่ามีผู้ป่วยเป็นโรค สมองเสื่อมทั่วโลกมากกว่า 35 ล้านคน อยู่ในเอเชียอาคเนย์ 2.4 ล้านคน สำหรับประเทศไทยนั้นจากรายงานการ สำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 โดยสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ซึ่งทำการสำรวจสุขภาพประชาชนทั้งสิ้น จำนวน 23,760 คน พบว่าผู้สูงอายุ อายุ 50 ปีขึ้นไป มีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 8.1 โดยพบในผู้สูงอายุชาย ร้อยละ 6.8 ขณะที่ผู้สูงอายุหญิงพบที่ ร้อยละ 4.2 เทียบเท่ากับว่าผู้สูงอายุวัยเกิน 60 ปี ทุก 12 คน จะพบเป็นโรคสมองเสื่อม 1 คน และจากการศึกษาในเรื่องการหกล้ม พบว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้สูงอายุ จากข้อมูลทาง ระบาดวิทยาพบว่า ในแต่ละปีอุบัติการณ์ ของการหกล้มในผู้ที่อายุมากกว่า 65 และ 85 ปี สูงถึง 30 % และ 50 % ตามลำดับ และพบการบาดเจ็บที่เกิดจากการหกล้มได้ประมาณ 12 % ถึง 24 % ซึ่งการบาดเจ็บอาจจะ เป็นได้ตั้งแต่การบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ฟกช้ำ แผลถลอก หรือแผลฉีกขาดซึ่งพบได้ประมาณ 44 % จากการหกล้ม ปฏิบัติการศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ในขณะที่ 4-5 % ของการหกล้มจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น กระดูกสะโพกหรือกระดูกข้อมือหัก หรือเลือดออกในสมอง ซึ่งการบาดเจ็บที่รุนแรงจากการหกล้ม เป็นสาเหตุที่สำคัญของการเสียชีวิต และทุพพลภาพ ในผู้สูงอายุ
          ปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อหามาตรการเพื่อป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เช่น การออกกำลัง กาย การฝึกการทำงานของสมอง (Cognitive training) เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานของสมองในด้านต่างๆ ซึ่งผลจากการออกกำลังกายและการฝึกการทำงานของสมอง ยังส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการ เดินการทรงตัว เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบประสาทและสมอง ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ได้เล็งเห็น ความสำคัญถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันการหกล้มและภาวะสมองเสื่อม ในผู้สูงอายุ โดยได้ทำการสุ่มประเมินภาวะสุขภาพพระสงฆ์ในเขตสุขภาพที่ 4 เนื่องจากผู้สูงอายุที่เป็น พระภิกษุสงฆ์ยังเข้าไม่ถึงบริการด้านคัดกรองสุขภาพ และระบบการคัดกรองที่ผ่านมามุ่งเน้นผู้สูงอายุในชุมชน โดยวัดก็เป็นส่วนหนึ่งในชุมชน
วันที่ 4-5 มิถุนายน 2561 ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี กลุ่มงานวัยผู้สูงอายุ ออกประเมินภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดนนทบุรี เนื่องจากใน ปี 2560 มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 734,407 คน ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 27,548 คน (ข้อมูล จากเขตสุขภาพที่ 4 มีนาคม 2560 ) ในพื้นที่รับผิดชอบ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี และนนทบุรี และนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2559 เน้นการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ประชาชนทุกกลุ่มวัยต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยในวัยสูงอายุเน้นให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองปัญหาสุขภาพ รวมทั้งหน่วยบริการระดับตำบล โดยแผนพัฒนา ระบบสุขภาพแห่งชาติในอีก 20 ปี ข้างหน้าคนไทยมีอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีของผู้สูงอายุไทย ไม่น้อยกว่า 75 ปี และชุมชนมีศักยภาพในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชากร ทุกกลุ่มวัย ในปี พ.ศ. 2553 องค์การ Alzheimer\\\'s Disease International (ADI) ได้ประเมินว่ามีผู้ป่วยเป็นโรค สมองเสื่อมทั่วโลกมากกว่า 35 ล้านคน อยู่ในเอเชียอาคเนย์ 2.4 ล้านคน สำหรับประเทศไทยนั้นจากรายงานการ สำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 โดยสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ซึ่งทำการสำรวจสุขภาพประชาชนทั้งสิ้น จำนวน 23,760 คน พบว่าผู้สูงอายุ อายุ 50 ปีขึ้นไป มีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 8.1 โดยพบในผู้สูงอายุชาย ร้อยละ 6.8 ขณะที่ผู้สูงอายุหญิงพบที่ ร้อยละ 4.2 เทียบเท่ากับว่าผู้สูงอายุวัยเกิน 60 ปี ทุก 12 คน จะพบเป็นโรคสมองเสื่อม 1 คน และจากการศึกษาในเรื่องการหกล้ม พบว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้สูงอายุ จากข้อมูลทาง ระบาดวิทยาพบว่า ในแต่ละปีอุบัติการณ์ ของการหกล้มในผู้ที่อายุมากกว่า 65 และ 85 ปี สูงถึง 30 % และ 50 % ตามลำดับ และพบการบาดเจ็บที่เกิดจากการหกล้มได้ประมาณ 12 % ถึง 24 % ซึ่งการบาดเจ็บอาจจะ เป็นได้ตั้งแต่การบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ฟกช้ำ แผลถลอก หรือแผลฉีกขาดซึ่งพบได้ประมาณ 44 % จากการหกล้ม ปฏิบัติการศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ในขณะที่ 4-5 % ของการหกล้มจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น กระดูกสะโพกหรือกระดูกข้อมือหัก หรือเลือดออกในสมอง ซึ่งการบาดเจ็บที่รุนแรงจากการหกล้ม เป็นสาเหตุที่สำคัญของการเสียชีวิต และทุพพลภาพ ในผู้สูงอายุ ปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อหามาตรการเพื่อป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เช่น การออกกำลัง กาย การฝึกการทำงานของสมอง (Cognitive training) เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานของสมองในด้านต่างๆ ซึ่งผลจากการออกกำลังกายและการฝึกการทำงานของสมอง ยังส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการ เดินการทรงตัว เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบประสาทและสมอง ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ได้เล็งเห็น ความสำคัญถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันการหกล้มและภาวะสมองเสื่อม ในผู้สูงอายุ โดยได้ทำการสุ่มประเมินภาวะสุขภาพพระสงฆ์ในเขตสุขภาพที่ 4 เนื่องจากผู้สูงอายุที่เป็น พระภิกษุสงฆ์ยังเข้าไม่ถึงบริการด้านคัดกรองสุขภาพ และระบบการคัดกรองที่ผ่านมามุ่งเน้นผู้สูงอายุในชุมชน โดยวัดก็เป็นส่วนหนึ่งในชุมชน

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน